วันจันทร์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2556

การออกเสียง A


ตัว A นั้นออกเสียงคล้าย “เอ” ภาษาไทย แต่จะมีลมออกมาจากลำคอมากกว่าของไทย (ท่าถอน
หายใจ) คือสระในภาษาอังกฤษทุกตัวจะมีลมมาจุกติดอยู่ที่ลำคอก่อนเปล่งเสียง ผิดกับภาษาไทย
ที่ปล่อยให้เสียงออกมาแบบไม่ต้องมีลมดัน ลองพูด alien , agent ,aids , ape , บางครั้ง A ก็
เสียง “อะ” เช่น ago , again , alarm
http://www.englishspeak.com/th/english-words.cfm?sortby=1

การออกเสียง B


ตัว B ออกเสียงคล้าย “บ ใบไม้” แต่จะบีบปากแน่นกว่า ภาษาไทยจะใช้ริมฝีปากบนล่างด้านใน
สัมผัสกันเบา ๆ ก่อนเปล่งเสียง แต่ของฝรั่งจะบีบแรง ๆ พอจะเปล่งเสียงต้องใช้ลมดันให้ระเบิด
ออกมา ลองพูด bomb , baby , but , bubble , bit

ทดสอบการออกเสียง B  http://www.englishspeak.com/th/english-words.cfm?sortby=2

การออกเสียง C


ตัว C ออกเสียงได้ 2 เสียง “ซ” ก็ได้ “ค” ก็ได้ แต่ไม่เหมือนไทย เราต้องใช้ท่าฉีกยิ้มจนลมผ่าน
ด้านข้างแก้มกับฟัน แล้วจึงออกเสียง “ซ” เช่น cell , cycle , civic หรือ “ค” เช่น cat , car ,
comb

การออกเสียง D


ตัว D ใช้ท่าหมากฝรั่งติดเพดานปากแล้วพูด “ด” แต่ให้ลิ้นดันเพดานแรง ๆ พร้อมห่อปาก
เล็กน้อย โปรดสังเกตว่า “ด “ ในภาษาไทยใช้แค่ปลายลิ้นแตะเพดานบนเบา ๆ เท่านั้น ไม่
เหมือนกันใครทำไม่ได้ ให้สังเกตว่ากำลังใช้ปลายลิ้นหรือด้านบนของลิ้นฃ่วงสุดปลายดันเพดาน
ถ้าทำอย่างแรกเสียงจะไม่ค่อยเล็ดลอดออกมา ถ้าทำอย่างหลังเป็นวิธีที่ถูก เสียง จะออกมา
ชัดเจน เช่น dog , dear , dad , dime , dump

ทดสอบการออกเสียง D ได้ที่ 

การออกเสียง E


ตัว E ใช้วิธีฉีกยิ้มและพ่นลมออกมาจากลำคอพร้อมเปล่งเสียง “อี” เช่น eel , evening (อีฟ-นิ่ง
ไม่ใช่ อีฟ-เวน-นิ่ง) หรือ “เอะ” เช่น Evans (เอฟ-วึ่นส์ ไม่ใช่ อี-วานส์) elephant (เอล-ฟึ่น ไม่ใช่
อี-เล-เฟ่น)

ทดสอบการออกเสียง E ได้ที่

การออกเสียง F



ตัว F ใช้ฟันบนจิกลงบนริมฝีปากล้างด้านใน แล้วพ่นลมผ่านไรฟันออกมาก่อนเสียงสระ เช่น fat
เฟอะ-แอ็ท fun เฟอะ-อัน ผิดกับภาษาไทยที่เปล่งออกมาพร้อมกันทั้งพยัญชนะต้น สระ ตัวสะกด
ลองออกเสียง free , film , fame , foot , me

ทดสอบการออกเสียง F ได้ที่ 

การออกเสียง G


ตัว G คือ “จ“ แต่ยื่นปากมากกว่าภาษาไทยหน่อยหนึ่ง เช่น George , gentle , gym บางครั้งก็
ออกเสียงเป็น “ก” ก็ให้ยื่นปากก่อนพูด “ก” เป็นใช้ได้ เช่น girl , gold , grab


                                                        ทดสอบการออกเสียง G ได้ที่ 

การออกเสียง H


ตัว H (โปรดทราบ หนึ่งชื่อ เอช นะเจ้าคะ ไม่ใช่ เฮ็ด คุณครูไทยชอบสอบให้อ่านว่า เฮ็ด ไม่รู้ให้ไป
เฮ็ดหยัง) เวลาเรียกตัว H ให้พูดว่า เอช แล้วจบเสียงด้วยท่ายื่นเผยอปากค้างไว้ ระวังริมฝีปาก
ต้องเผยอเกร็งไว้ มิฉะนั้นเสียงจะเพี้ยนเวลาออกเสียงในคำจะคล้าย “ฮ” แต่ต้องมีการพ่นลม
ออกมาจากลำคอเหมือนถอนหายใจ ลองดู hot , hat , hip , hello , him ตัว I อ่านว่า “ไอ”
ธรรมดา แต่อ้าปากกว้าง ๆ หน่อย ปล่อยลมออกมาจากคอหน่อย แค่นี้ก็ชัดแล้วว่า I ตัว I นี้ออก
เสียง “ไอ” หรือ “อิ” เช่น islands (อ่านว่า ไอ-ลึ่น ไม่ใช่ ไอ๊ส์-แลนด์) idea , ivory , inside ,
2
impossible , itch

                                                    ทดสอบการออกเสียง H ได้ที่ 
                           http://www.englishspeak.com/th/english-words.cfm?sortby=8

การออกเสียง J


ตัว J ก็คือ “จ” แต่พูดแบบค่อย ๆ ยื่นปากจีบปากเค้นเสียงออกมาเหมือนเวลาเราเปรี้ยวปาก คือ
กระแดะกว่าปกติหน่อยแล้วจะดี ลองออกเสียงคำเหล่านี้ดูสิคะ แล้วนึกถึงอะไรเปรี้ยว ๆ ด้วย
joy, james , june , jeans , jelly

                                                    ทดสอบการออกเสียง J ได้ที่ 
                            http://www.englishspeak.com/th/english-words.cfm?sortby=10

การออกเสียง K


ตัว K คือตัว “ค” (ขอประทานโทษ) ขากเสลด วิธีเปล่งเสียงให้ค่อย ๆ พ่นลมผ่านลำคอให้ขึ้นไป
กระทบเพดานปากเยื้องมาทางด้านหลังของเพดาน แล้วเปล่งเสียง “ค” โปรดสังเกตว่าต้องพ่นลม
ออกมาก่อนเสียง “ค” นะคะ ลองพูด kite , kate , kid , key , kind

ทดสอบการออกเสียง K ได้ที่

การออกเสียง L


ตัว L นี้เป็นตัว “เสียงลม” ตัวปัญหา เพราะ คนไทยเข้าใจว่านี่คือเสียง “ล” แต่จริง ๆ แล้วมันไม่
เหมือนกันซะทีเดียว ลองพูด “ล” ของไทยดูนะคะ ลิ้นจะอยู่ที่เพดานข้างหลังฟัน แต่จะไม่โดนฟัน
วิธีเปล่งเสียง ต้องฉีกยิ้มไว้เสมอ มิฉะนั้นเสียงจะไม่ออก คือยิ้มสู้ก่อนพูดว่างั้นเถอะ แล้วเอาปลาย
ลิ้นแตะด้านหลังฟันหน้าบริเวณโคนฟันและเหงือก แล้วดีดลิ้นลงก่อนออกเสียงสระ ถ้าเอาลิ้นแตะ
ค้างไว้ เสียงจะไม่ออกนะคะ เช่น love (เล่อะ-เอิฟ) long (เล่อะ-ออง) ถ้าตัว L เป็นตัว ลงท้ายใน
คำตรงนี้ขอทำความเข้าใจก่อนนะคะว่า L ไม่ใช่ “ล” เพราะฉะนั้นไม่ใช่ตัวสะกดในแม่กน ตัว L
คือตัวปิดเสียงเท่านั้น ลองเรียกชื่อตัว L ดูสิคะ เราต้องเปล่งเสียง “แอ…” ลากยาวจนซะใจ
อยากจะจบ เมื่อไหร่ให้ฉีกยิ้มกระดกลิ้นแตะโคนฟันหน้าบนแล้วดีดกลับ (แต่ยังยิ้มค้างไว้นะจ๊ะ) ก็
จะได้ L ที่ถูกต้อง ระวัง ถ้าออกเสียงเป็น “แอน” หรือ “แอว” ไม่ถูกนะคะ

ทดสอบการออกเสียง L ได้ที่

การออกเสียง M


ตัว M นี่ก็เป็นตัวเสียงลมอีกตัวหนึ่งที่ไม่เหมือน “ม” ของไทย ตัวนี้เราต้องบีบริมฝีปากล่างเข้าหา
กัน แล้วเปล่งเสียง “ม” ให้ระเบิดออกมาเช่น man , more , many , meet , main , Monday
ถ้าเป็นตัวสะกดก็ให้ระเบิดลมออกมาท้ายคำด้วยทุกครั้งเช่น ham (แฮม-หมึ) home (โฮม-หมึ)
arm (อาร์ม-หมึ)

ทดสอบการออกเสียง M ได้ที่

การออกเสียง N


ตัว N เป็นเสียงลมอีกตัวหนึ่ง เวลาออกเสียงจะใช้เทคนิคแสยะยิ้ม หรือยื่นขากรรไกรล่างออกมา
เล็กน้อย ให้สังเกตว่าคอด้านหน้าจะตึง ๆ ลักษณะเหมือน “เถียงคอเป็นเอ็น” นั่นแหละ ลองออก
เสียง no , not , never หรือถ้าเป็นคำลงท้ายก็ให้แสยะยิ้มตอนจบเช่น non , coin , fun

ทดสอบการออกเสียง N ได้ที่

การออกเสียง O


ตัว O นี่ต้องอาศัยความกระแดะนิดหน่อยจะออกเสียงได้เพราะมาก ให้ออกเสียง “โอ” อ้า
ปากกว้าง ๆ และเผยอเกร็งริมฝีปากบนล่างไว้ให้ดี แล้วค่อย ๆ ทำปาก ให้แคบลง แต่ยังเผยอค้าง
ไว้เสมอ ถ้านึกไม่ออก ให้ดูพวกดารากะเทยตามละครน้ำเน่านั่นแหละ ชัดเลย ลองออกเสียง
over , oil (โอ-อิล), on , of

ทดสอบการออกเสียง O ได้ที่

การออกเสียง P


ตัว P ก็ใช้วิธีบีบปากบนล่างเข้าหากัน แต่คราวนี้ให้เม้มด้วย เหมือนเวลาที่ผู้หญิงทาลิปสติกแล้ว
ต้องเม้มปากเพื่อเกลี่ยสีให้เท่ากันนั่นแหละ แล้วก็พ่นลม “พ” ออกมาลองทำดู แล้วให้ยกมือให้
ห่างปากสักหนึ่งฟุต ถ้าทำถูกจะต้องรู้สึกถึงลมที่พ่นออกมาปะทะฝ่ามือ เช่น pepper , papa ,
3
peter ,paul , pan , pot

ทดสอบการออกเสียง P ได้ที่

การออกเสียง Q


ตัว Q อ่านว่า “คิยู” ตัวนี้ไม่ใช่ “คว” ควบกล้ำแบบภาษาไทย แต่เป็นตัว “ค” โดด ๆ เช่น
queue อ่านว่า “คิยู” หรือ “ค” และ “ว” พูดแยกกัน เช่น queen (คะ-วีน) quota (คะ-โว-ท่า
ไม่ใช่ โคต้า หรือโควต้า) quality (คะ-วอล-ลิ-ที่)

ทดสอบการออกเสียง Q ได้ที่

การออกเสียง R


ตัว R ตัวนี้เป็นปัญหาของคนไทย เพราะความเข้าใจผิดกันมาแต่สมัยก่อนที่คุณครูสอนว่า ตัว R
เทียบเท่ากับ “ร” ครูเคทจะเทียบให้ฟังนะคะว่ามันไม่เหมือนกันอย่างไร ร เรือของไทย เวลาเปล่ง
เสียง เราต้องกระดกลิ้นขึ้นแตะเพดานปากเกร็งไว้เล็กน้อย เมื่อพ่นลมผ่านระหว่างลิ้นกับเพดาน
ลิ้นจะมีอาการพลิ้วเล่นลมเล็กน้อย แต่การเปล่งเสียง R ไม่ได้มีการใช้ลิ้นช่วยในการเปล่งเสียงแต่
อย่างใด คือวางลิ้นไว้ในที่ปกติของมันนั่นแหละ อย่าเอามันมายุ่งให้วุ่นวาย แต่ให้ห่อปากแบบยื่น
ออกมาด้านหน้าเหมือนทำปากหมูนั่นแหละ แล้วเผยอริมฝีปากบนล่างเกร็งไว้ เป็นอันเสร็จสิ้น
กระบวนการ อย่าลืมว่าตัว R นี่เป็นเสียงลม ไม่ใช่เสียงจริง เวลาออกเสียงพยัญชนะต้น ให้ยื่นปาก
เผยอริมฝีปากเตรียมไว้เหมือนจะพูดว่า “อู” แล้วเปล่งเสียงสระตัวสะกดตามมา เช่น red (อู-เรด
แต่ไม่ต้องพูด “อู” ออกมาจริง ๆ หรอก) read (อู-รีด) real (อู-รี-อัล) ถ้าเป็นตัวสะกดให้พูด
พยัญชนะต้นและสระให้สะใจ แล้วจึงจบคำด้วยท่าปากหมูค้างไว้ ก็จะได้เสียง R ตามที่ต้องการ
เช่น dear (เดีย ..(ปากหมู) air (แอ (ปากหมู)) far (เฟอะ-อา (ปากหมู))

ทดสอบการออกเสียง R ได้ที่

การออกเสียง S


ตัว S คือตัวเสียงลมอีกตัว เวลาออกเสียงให้ฉีกยิ้มแล้วพ่นลมผ่านไรฟัน ไม่ต้องเอาลิ้นออกมานะ
คะ คนบางคนพูด ส ไม่ชัด เพราะเอาลิ้นออกมาแตะฟันหน้าด้านในด้วยซึ่งเป็นการออกเสียงที่ผิด
ทั้งภาษาไทยและอังกฤษ ลมที่ออกมาต้องยาวนานกว่าภาษาไทยสัก 2-3 วินาที S ไม่ใช่ ส แต่จง
ปล่อยให้เสียงเกิดเองตามธรรมชาติจากการพ่นลมลองออกเสียง sand (ซซซซซ แอ-เนอะ-ดึ)
stick (ซซซซ ทิค-คึ) โปรดสังเกตุว่าให้ออกเสียงลม ซซซซ เท่านั้น ไม่ต้องออกเสียง “สะ” เหมือน
สบาย สบู่ เคล็ดลับยิ้มเข้าไว้ เสียงจะชัด เวลาออกเสียง S เป็นตัวสะกดนี่ก็เหมือนกัน เมื่อ S
ไม่ใช่ “ส” เพราะฉะนั้นไม่ใช่ตัวสะกดในแม่กด ไม่ต้องพยายามช่วยสะกดให้เขา เพียงแต่ฉีกยิ้ม
พ่นลมออกมาเมื่อจบคำเท่านั้นก็พอ เช่น goes อ่านว่า โก ซซซซซ ….. ไม่ใช่ โกซ. อย่างที่คนไทย
ชอบพูด ลองหัดออกเสียง kiss , peas ,as /font>

ทดสอบการออกเสียง S ได้ที่

การออกเสียง U




ตัว U ออกเสียง”อุ” “อะ” โดยออกเสียงในลำคอ เช่น ultra (อุลทร้า หรืออัลทร้า ก็ได้) หรือ
บางครั้งก็ออกเสียงยู เช่น under , umbrella, หรือบางครั้งก็ออกเสียงยู เช่น universal,
unilateral, unit

ทดสอบการออกเสียง U ได้ที่

การออกเสียง V


ตัว V ออกเสียง”ว” แต่ให้เอาฟันบนจิกลงที่ริมฝีปากล่างด้านในส่วนที่ไม่ทาลิปสติก แล้วพ่นลม
ผ่านไรฟันและริมฝีปาก คือออกเสียง”ว” และพยายามพ่นลมผ่านไรฟันพร้อมๆกันระวังอย่าให้
ออกเป็นเสียง”ฟะ” ลองออกเสียง van, vary, vegetable (เว็จ-ทะ-บึล ไม่ใช่เว็ด-เจ็ด-เท-เบิ้ล)
แต่ถ้าเป็นตัวยสะกดให้สะกดให้ออกเสียง”ฟ” เช่น leave (ลีฟ) , give, glove

ทดสอบการออกเสียง V ได้ที่

การออกเสียง w


ตัว W อ่านว่า ดับบึลยู ไม่ใช่ ดับบลิว นะเจ้าคะ ตัวนี้ออกเสียงเหมือน ว แหวน ของไทยเลย ไม่
ต้องกระแดะบางคนเวลาพูด W กระแดะไปนิด เลยเพี้ยนไปเลย เช่น จะเรียกพี่วิลลี่ แมคอินทอช
เลยกลายเป็น villy ฟังแล้วคันหูคะ เทคนิคเล็กน้อยที่จะทำให้ชัดขึ้นคือ ยื่นปากงุ้มลงเล็กๆก็ใช้ได้
แล้ว เช่น Willy, will, wonder ถ้าเป็นตัวสะกดก็ยื่นปากเข้าไว้ เช่น low, few, wow

การออกเสียง x




ตัว X อ่านว่า เอ็กซ์ ถ้าเป็นพยัญชนะต้น ออกเสียงคล้าย S แต่เพิ่มแรงสั่นสะเทือนในเสียงให้มาก
ขึ้น เช่น Xerox, xylophone ถ้าออกเป็นตัวสะกดให้ออกเสียงตัวสะกดในแม่กก แล้วจึงตามด้วย
ซซซ….เช่น box , fox, fax

การออกเสียง y





ตัว Y ใช้เทคนิคแสยะยิ้ม พยายามยื่นขากรรไกรล่างออกมาสบหน้าฟันบน เช่น yes, yellow,
yeild ถ้าเป็นตัวลงท้ายออกเสียงเป็นตัวสระอิหรือสระอี เช่น jelly, really, pretty /font>

การออกเสียง z





ตัว Z ตัวนี้ตั้งท่าเหมือนตัว S แต่ให้กัดฟันแรงกว่าเล็กน้อย แล้วพ่นลมผ่านไรฟันให้เกิด
แรงสั่นสะเทือนมากๆ จนรู้สึกคัน ๆ ที่ฟันนั่นแหละใช้ได้เลย ลองดู zebra, zoo, buzz

Englishspeak

อะไร คือ Englishspeak.com?
Englishspeak.com ฟรีและได้รับรางวัล ระบบใหม่สำหรับการพูดภาษาอังกฤษ. โปรแกรมประกอบด้วยบทเรียนที่มุ่งเน้นให้ความสำคัญกับการออกเสียง สำเนียง ภาษาอังกฤษ และ ภาษาที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ด้วยจำนวนมากกว่า 100 บทเรียน , Englishspeak.com ได้จัดเตรียมบรรจุ ไฟล์ออดิโอ จำนวนมากไว้เพื่อรองรับการใช้งาน ผู้ใช้สามารถเข้าถึง ได้ ในสองระดับความเร็วที่ต่างกัน ของการฟังในแต่ละบทเรียน.

ทำไม Englishspeak.com ถึงเป็นสิ่งจำเป็น ?

ในอดีตผู้คนจำนวนมากที่มีปัญหาในการพูดภาษาอังกฤษเชื่ออย่างผิดๆว่า พวกเขา “แค่เรียนภาษาอังกฤษไม่เก่ง” แต่ในความเป็นจริงแล้ว มันเป็นเพราะสิ่งแวดล้อมในชั้นเรียนภาษาอังกฤษส่วนใหญ่ไม่เหมาะสำหรับการเรียนพูด

ปัญหาของ สื่อการเรียนวิชาภาษาอังกฤษส่วนใหญ่ คือ ไม่ได้มีการมุ่งเน้นในทักษะการพูดภาษา นักเรียนที่เรียนจากสื่อเหล่านี้ มักจะจบลงด้วยการพูดสำเนียงแปลกๆ และ เหมือนกับการอ่านจากหนังสือเรียน นอกจากนั้น , นักเรียนส่วนใหญ่ฝึกฝนโดยการพูด