เสียงท้าย -s, -es, -ed
- -s ก็ตามด้วย เสียง s ปกติ คือ ลากเสียง s ออกไปตอนจบประโยค
- -es เจ้าของภาษาจะออกเสียง /อิส/ แต่ตามความคุ้นเคยของคนไทยมักออกเสียงชัดเจนว่า /เอส/ อย่างเช่น
- boxes -- บ้อกซิส (เจ้าของภาษา) บ๊อกเซส (สำเนียงสะดวกลิ้นไทย)
- glasses -- แกล็สซิส (เจ้าของภาษา) กลาสเสส (สำเนียงสะดวกลิ้นไทย)
- -ed อันนี้มีสองแบบ ถ้าตามด้วย ตัว T หรือ D จะเสียง /เอ๊ด/ หรือ /อึ๊ด/ แต่ถ้าไม่ใช่ให้ ออกเสียง /เดอะ/
- reloaded -- รีโหลดดิด (เจ้าของภาษา) ลีโล้ดเด๊ด (สำเนียงสะดวกลิ้นไทย)
- wanted -- ว้อนถิด (เจ้าของภาษา) ว้อนเต๊ด (สำเนียงสะดวกลิ้นไทย)
- notified -- ก็ไม่มีเสียง ed แต่จะมีเสียง d ในลำคอ
เสียงพยัญชนะท้าย
- หลายๆคำที่มีพยัญชนะท้ายจะมีเสียงเบาๆที่ไม่ควรละ
- เสียง -nd เช่น finding ออกเสียง ฟาย(อืน)ดิ่ง หรือ บางครั้งอาจได้ยิน ฟายนิ่ง
- เสียง -ne เช่น line ออกเสียง ละอิน (รวบเป็นหนึ่งพยางค์) ต่างจาก lie ออกเสียง ลาย
- เสียง -le เช่น mobile ออกเสียง โม-บะอิล (สองพยางค์) หรือ บางครั้งอาจได้ยิน โม-บึล
- เสียง -le เช่น file ออกเสียง ฟะอิล (รวบเป็นหนึ่งพยางค์) หรือ บางครั้งอาจได้ยิน ฟาว ต่างจาก fine ออกเสียง ฟาย(อืน) หรือ fire ออกเสียง ฟายเออ
คำผสม (compound noun)
คำผสม จากคำนามสองคำ การออกเสียง ให้ขึ้นเสียงสูงตรงกลาง แล้วลงต่ำตอนท้าย. เช่น:
- คำว่า greenhouse / green house
- คำผสม greenhouse (บ้านที่เป็นเรือนกระจก) ขึ้นเสียงตรง green และลงต่ำตรง house เสียง
- คำปกติเรียงกัน green house (บ้านสีเขียว) ออกเสียงตามปกติ. ไม่ต้องขึ้นลงเสียง.
- คำว่า English teacher
- คำผสม หมายถึง ครูสอนภาษาอังกฤษ ขึ้นเสียงตรง English ลงตรง teacher
- คำปกติเรียงกัน หมายถึง ครูชาวอังกฤษ ออกเสียงตามปกติ
อ้างอิง
- Basic Pronunciation for beginners, Jill Knutson
- Speech Craft, Workbook for academic discourse, Laura D. Hann, Wayne B. Dickerson
ไม่มีความคิดเห็น :
แสดงความคิดเห็น